นิ่วในท่อไตคืออะไร?
“นิ่ว” เกิดจากสารตกค้างต่าง ๆ ที่ขับออกมาทางปัสสาวะไม่หมด รวมกันจนกลายเป็นก้อนผลึกแข็ง เมื่อเกิดการสะสมเป็นเวลานานทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและกลายเป็นก้อนนิ่ว ที่เข้าไปอุดตันที่บริเวณต่าง ๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ จึงทำให้เกิด “นิ่วในท่อไต”
- อาการเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในท่อไต
อาการบ่งชี้ของนิ่วในท่อไต จะมีลักษณะอาการปวดตรงบริเวณเอวด้านหลังที่เป็นตำแหน่งของไต โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ประกอบด้วย
✔ ปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ บริเวณข้างลำตัวและหลัง บางครั้งอาจปวดช่องท้องด้านล่างลงไปจนถึงขาหนีบ
✔ ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย น้ำปัสสาวะน้อยผิดปกติ
✔ ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาลหรือสีชมพู
✔ คลื่นไส้ อาเจียน
✔ มีไข้ หนาวสั่น* หากมีอาการข้างต้น ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกวิธี
- ความเสี่ยงในระยะยาว
เมื่อเป็นโรคนิ่วในท่อไต หากปล่อยไว้นานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้ไตเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่าง และทำงานผิดปกติมากยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด
- แนวทางป้องกันโรคนิ่วในท่อไต
1. ดื่มน้ำให้มากและให้ได้ปริมาณพอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย คือ อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวันโดยแบ่งดื่มเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวันเพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะและลดการก่อผลึกนิ่วที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบทางเดินปัสสาวะ
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารก่อนิ่วสูง ได้แก่
✔ ลดการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์
✔ ลดการรับประทานอาหารที่มีความหวานและเค็มลง
⚠ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น หนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน กุ้ง
⚠ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง เช่น ยอดผัก ผักโขม ช็อกโกแลต ชา ถั่ว แอปเปิ้ล หน่อไม้ฝรั่ง บล็อคโคลี่ เบียร์ น้ำอัดลม กาแฟ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้งโปรแกรมผ่าตัดนิ่วในท่อไตแบบผ่านกล้อง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิก