6 โรคที่คุณต้องระวังในฤดูร้อน ☀️
” ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเดินอาหารและน้ำ “
เมื่อเข้าในฤดูร้อนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนขึ้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด
โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม เนื่องจากสภาพอากศที่ร้อนส่งผลให้อาหารเน่าเสียได้ง่ายกว่าฤดูอื่นๆ และการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม

- โรคอุจจาระร่วง
สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิในลำไส้ จากการรับประทานอาหาร และน้ำไม่สะอาด การไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมหรือปรุงอาหาร และภาชนะสกปรก มีเชื้อโรคปะปน
– อาการ
▫ อุจจาระเหลว ถ่ายเป็นเป็นมูกเลือด
▫ มีไข้สูง
▫ อ่อนเพลีย
▫ คลื่นไส้ อาเจียน
▫ หากเกิดภาวะขาดน้ำ จนอาจทำให้ช็อก หมดสติ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็ก– การป้องกัน
▫ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
▫ รับประทานอาหารที่สะอาดและสุกใหม่และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ค้างคืน
▫ น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำสำหรับปรุงอาหารต้องสะอาด
▫ กำจัดขยะมูลฝอย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน

- โรคอาหารเป็นพิษ
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ ไข่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ได้ร้ายแรงมากนัก แต่ถ้าหากในเคสของผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ร่างกายอาจจะเสียน้ำ เสียเกลือแร่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้– อาการ
▫ รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
▫ มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
▫ ถ่ายท้อง ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน
▫ เบื่ออาหาร ไม่อยากอาหาร
▫ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อย และปัสสาวะน้อย
▫ มองเห็นไม่ชัด แขนเป็นเหน็บ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง– การป้องกัน
▫ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
▫ น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำสำหรับปรุงอาหารต้องสะอาด
▫ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารค้างคืน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เพราะจะบูดเสียง่าย
▫ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ๆ หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรืออาหารสำเร็จรูปที่ชื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้เดือดทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับประทาน

- โรคบิด
เป็นอาการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ ซึ่งเกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella) หรือเกิดจากติดเชื้อจากสัตว์เซลล์เดียวอย่างตัวอะมีบา (E. histolytica) ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค โรคบิดเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากรักษาได้อย่างทันท่วงทีและได้รับการชดเชยภาวะขาดน้ำควบคู่กับการให้ยาฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วก็อาจจะทำให้อาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้– อาการ
▫ ท้องเสีย ถ่ายเหลว
▫ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือด
▫ ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด
▫ มีไข้สูง
▫ คลื่นไส้ อาเจียน
▫ ในเด็กอาจพบอาการชักร่วมด้วย– การป้องกันตัวเอง
▫ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
▫ น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำสำหรับปรุงอาหารต้องสะอาด และไม่รับประทานน้ำแข็งที่เตรียมไม่สะอาด
▫ รับประทานอาหารปรุงสุกในขณะที่ยังร้อนอยู่ หากซื้ออาหารบรรจุสำเร็จควรอุ่นอาหารให้ร้อนจัดก่อนการรับประทานทุกครั้ง
▫ เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น นมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักและผลไม้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างทั่วถึง
▫ ทิ้งขยะในถังขยะที่มีฝาปิด และกำจัดขยะอย่างสม่ำเสมอ

- โรคไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า ซัลโมเนลล่า ไทฟี่ (Salmonella typhi) ติดต่อโดยการรับเชื้อการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การไม่ล้างมือก่อนการหยิบจับอาหาร การกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อและการใช้แหล่งน้ำบริโภคที่มีเชื้อโรค หากไม่ได้รับการรักษาและเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ก็อาจนำไปสู่ ภาวะไตวาย
– อาการ
▫ ไข้สูง
▫ ปวดศีรษะ
▫ เบื่ออาหาร
▫ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย
▫ อาจมีผื่นขึ้นตามตัว
▫ ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
▫ บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้น เช่น เลือดออกในทางเดินอาหาร ลำไส้ทะลุ หรือไตวายได้– การป้องกัน
▫ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ ล้างก่อนการรับประทานอาหารหรือการเตรียมอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ
▫ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่อาจมีการปนเปื้อนหรือไม่ปลอดภัย
▫ หลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ดิบ เพราะอาจถูกล้างด้วยน้ำที่มีการปนเปื้อน
▫ เลือกรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกแล้วเท่านั้น
▫ ใช้ช้อนกลางตักอาหารขณะรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
▫ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ

- โรคไวรัสตับอักเสบเอ
เป็นโรคที่มีการอักเสบของตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (HAV) ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ผ่านการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ การสัมผัสกับสิ่งสกปรกและอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือผู้ที่ติดเชื้อ และจากการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ผิดสุขอนามัย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงตับอักเสบรุนแรงมาก โดยทั่วไปอาการจะหายเป็นปกติภายใน 2 เดือน โดยผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ จะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตและจะไม่เป็นโรคนี้ซ้ำเดิมอีก– อาการ
▫ มีไข้อ่อนๆ (มักต่ำกว่า 39 องศาเซลเซียส)
▫ อ่อนเพลีย
▫ เบื่ออาหาร
▫ คลื่นไส้อาเจียน
▫ แน่นท้องใต้ชายโครงขวา
▫ ท้องร่วง
▫ ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม
– มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองที่เรียกว่าดีซ่าน– การป้องกัน
▫ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
▫ น้ำดื่ม และ น้ำใช้ต้องสะอาด
▫ รับประทานอาหารสะอาดและปรุงสุก
▫ ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
▫ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
▫ วิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
- โรคอหิวาตกโรค
เป็นโรคติดต่อที่รุนแรง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) ภายในลำไส้ ซึ่งผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดนี้ หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว– อาการ
▫ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมาก
▫ อุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว
▫ คลื่นไส้อาเจียน
▫ อ่อนเพลีย
▫ ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อก หมดสติจากการเสียน้ำ ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
▫ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ โพแทสเซียมในเลือดต่ำ เลือดเป็นกรด และน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งหากไม่รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว– การป้องกันตัวเอง
▫ ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร หรือรับประทานอาหาร
▫ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุกๆดิบๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ อาหารที่มีแมลงวันต่อม
▫ ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
▫ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
▫ การรับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันคือ ควรเน้นการปรับปรุงสุขาภิบาล มีสุขอนามัยที่ดี
โรงพยาบาลรวมแพทย์ พิษณุโลก
224/30 ถ.บรมไตรโลกนารถ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก